Skip to content

เกี่ยวกับโครงการ

       โครงการวิจัย การศึกษาเพื่อวางกรอบในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประกอบด้วย 1 แผนงาน และโครงการย่อย 3 โครงการ โดยคณะนักวิจัยมาจาก 5 สถาบัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอาศรมศิลป์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร

ความสำคัญและความเป็นมาของการศึกษา

  • ศูนย์กลางรถไฟกำลังจะย้ายจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปสถานีกลางบางซื่อ
  • การศึกษาในครั้งนี้สืบเนื่องจากผลการศึกษาระยะที่ 1 เรื่อง การศึกษาคุณค่าเชิงอัตลักษณ์และความต้องการทางสังคมเบื้องต้นในการอนุรักษ์-พัฒนาสถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งชี้ให้เห็นว่า

• สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
• เป็นพื้นที่ใจกลางเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่า 121 ไร่
• เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพรองรับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สามารถเป็นศูนย์กลางของกรุงเทพมหานครและเชื่อมโยงไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร

  • ด้วยความสำคัญดังกล่าวข้างต้น การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ ควรผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และอยู่บนฐานของความเป็นไปได้ทางการลงทุน และการหารายได้เพียงพอสำหรับการเลี้ยงตัวเอง

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

  1. เพื่อสังเคราะห์การศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ความเป็นไปได้ในการลงทุน และระบบโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงพื้นที่โดยรอบของสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
  2. เพื่อสร้างการรับรู้ของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
  3. เพื่อนำเสนอกรอบในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย แบ่งออกเป็น 5 มิติ

       1. มิติเชิงนโยบาย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง การรถไฟแห่งประเทศไทย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สามารถนำผลการศึกษาวิจัย ไปใช้งานขับเคลื่อนเชิงนโยบาย
       2. มิติเชิงสาธารณะ กระบวนการมีส่วนร่วมในโครงการวิจัยถือเป็นการเผยแพร่เพื่อทำความเข้าใจกับผู้คนทั่วไป ให้รับรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของโครงการ รวมถึงคนทั่วไปได้แสดงความคิดเห็นซึ่งนำไปสู่การได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
       3. มิติเชิงพาณิชย์ สามารถนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวสร้างสรรค์ รองรับผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ในกรุงเทพฯ และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ได้รับการคัดสรรค์แล้วจากทั่ว
       4. มิติเชิงชุมชนและพื้นที่ กระบวนการมีส่วนร่วมจะเป็นการลดความเห็นต่าง สร้างความเห็นร่วม นำไปสู่ข้อสรุปในบทบาทหน้าที่ ประโยชน์ใช้สอย และรูปแบบการใช้พื้นที่ เพื่อประโยชน์ร่วมของคนทั่วไป และโดยเฉพาะกับชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่หัวลำโพง
       5. มิติเชิงวิชาการ เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ ผ่านช่องทางที่หลากหลาย เช่น การสื่อสารผ่านสื่อสาธารณะ นิทรรศการ บทความ

กระบวนการศึกษา

       เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 ระยะเวลา 1 ปี เป็นการวิจัยแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ที่ใช้องค์ความรู้จากหลายศาสตร์ เก็บข้อมูลจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 9 ภาคส่วน ได้แก่ ผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ (ทุกช่วงวัย) บุคลากรสถานีรถไฟหัวลำโพง ผู้ใช้บริการ องค์กรภาครัฐ ภาคการลงทุน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา และภาคการท่องเที่ยว

       สำหรับกระบวนการวิจัย แบ่งเป็น

       ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเอกสาร การจัดกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรม การสัมภาษณ์ มากกว่า 30 ท่าน การสำรวจ ของแผนงานเกือบ 300 ชุด และโครงการย่อย 1,200 ชุด และการสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นผ่าน fanpage เกือบ 300 คน รวมถึง การสังเคราะห์ผลจากโครงการย่อยที่ 1, 2 และ 3
ในส่วนของกิจกรรม ซึ่งเป็น

1) จัดกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม Walk with the Cloud 2 ครั้ง เวทีสาธารณะจัดร่วมกับ ThaiPBS ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง
2) การร่วมกิจกรรมของโครงการย่อยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Community Walk รายการวิทยุ การสนทนากลุ่ม การประกวดความคิด งาน 124 ปี รถไฟไทย

ระยะที่ 2 คือ เวทีรับฟังความคิดเห็น และนิทรรศการออนไลน์

1) การสนทนากลุ่มย่อยจากผู้เชี่ยวชาญในมิติต่าง ๆ
2) สื่อสารโครงการผ่านสื่อสาธารณะ ได้แก่ รายการ สมุทรโคจร / website (ที่เราทำเส้นทางท่องเที่ยว) และ facebook ต่อเนื่องจากการทำงานในระยะที่ 1

คณะวิจัย

ที่ปรึกษาโครงการ: ศ.กิตติคุณ ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง และ ศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

แผนงานวิจัย : การศึกษาเพื่อวางกรอบในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก ผู้อำนวยการแผนงาน
ผศ.ธิป ศรีสกุลไชยรัก I ดร.ภัทร ยืนยง I ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์ I ดร.สริตา เจือศรีกุล

โครงการย่อย 1 : การศึกษาเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

ผศ.กฤษณะพล วัฒนวันยู หัวหน้าโครงการย่อย 1
ดร.ชำนาญ ติรภาส

โครงการย่อย 2 : การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการด้านการลงทุนและความเป็นไปได้ทางการเงินเพื่อรองรับการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

ดร.ถิรภาพ ฟักทอง หัวหน้าโครงการย่อย 2
ดร.ปิยะวงศ์ ปัญจะเทวคุปต์ I ดร.พิจิตรา ประภัสสรมนู

โครงการย่อย 3 : การศึกษาระบบโลจิสติกส์เชื่อมโยงพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ หัวหน้าโครงการย่อย 3
รศ.ดร.ภูพงษ์ พงษ์เจริญ I รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา I ดร.ศิริกาญจน์ จันทร์สมบัติ I ดร.ใกล้รุ่ง พรอนันต์ I ดร.เจษฎา โพธิ์จันทร์

เกี่ยวกับโครงการ

       โครงการวิจัย การศึกษาเพื่อวางกรอบในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประกอบด้วย 1 แผนงาน และโครงการย่อย 3 โครงการ โดยคณะนักวิจัยมาจาก 5 สถาบัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอาศรมศิลป์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร

ความสำคัญและความเป็นมาของการศึกษา

  • ศูนย์กลางรถไฟกำลังจะย้ายจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปสถานีกลางบางซื่อ
  • การศึกษาในครั้งนี้สืบเนื่องจากผลการศึกษาระยะที่ 1 เรื่อง การศึกษาคุณค่าเชิงอัตลักษณ์และความต้องการทางสังคมเบื้องต้นในการอนุรักษ์-พัฒนาสถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งชี้ให้เห็นว่า

• สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
• เป็นพื้นที่ใจกลางเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่า 121 ไร่
• เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพรองรับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สามารถเป็นศูนย์กลางของกรุงเทพมหานครและเชื่อมโยงไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร

  • ด้วยความสำคัญดังกล่าวข้างต้น การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ ควรผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และอยู่บนฐานของความเป็นไปได้ทางการลงทุน และการหารายได้เพียงพอสำหรับการเลี้ยงตัวเอง

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

  1. เพื่อสังเคราะห์การศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ความเป็นไปได้ในการลงทุน และระบบโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงพื้นที่โดยรอบของสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
  2. เพื่อสร้างการรับรู้ของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
  3. เพื่อนำเสนอกรอบในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย แบ่งออกเป็น 5 มิติ

       1. มิติเชิงนโยบาย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง การรถไฟแห่งประเทศไทย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สามารถนำผลการศึกษาวิจัย ไปใช้งานขับเคลื่อนเชิงนโยบาย
       2. มิติเชิงสาธารณะ กระบวนการมีส่วนร่วมในโครงการวิจัยถือเป็นการเผยแพร่เพื่อทำความเข้าใจกับผู้คนทั่วไป ให้รับรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของโครงการ รวมถึงคนทั่วไปได้แสดงความคิดเห็นซึ่งนำไปสู่การได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
       3. มิติเชิงพาณิชย์ สามารถนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวสร้างสรรค์ รองรับผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ในกรุงเทพฯ และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ได้รับการคัดสรรค์แล้วจากทั่ว
       4. มิติเชิงชุมชนและพื้นที่ กระบวนการมีส่วนร่วมจะเป็นการลดความเห็นต่าง สร้างความเห็นร่วม นำไปสู่ข้อสรุปในบทบาทหน้าที่ ประโยชน์ใช้สอย และรูปแบบการใช้พื้นที่ เพื่อประโยชน์ร่วมของคนทั่วไป และโดยเฉพาะกับชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่หัวลำโพง
       5. มิติเชิงวิชาการ เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ ผ่านช่องทางที่หลากหลาย เช่น การสื่อสารผ่านสื่อสาธารณะ นิทรรศการ บทความ

กระบวนการศึกษา

       เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 ระยะเวลา 1 ปี เป็นการวิจัยแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ที่ใช้องค์ความรู้จากหลายศาสตร์ เก็บข้อมูลจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 9 ภาคส่วน ได้แก่ ผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ (ทุกช่วงวัย) บุคลากรสถานีรถไฟหัวลำโพง ผู้ใช้บริการ องค์กรภาครัฐ ภาคการลงทุน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา และภาคการท่องเที่ยว

       สำหรับกระบวนการวิจัย แบ่งเป็น

       ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเอกสาร การจัดกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรม การสัมภาษณ์ มากกว่า 30 ท่าน การสำรวจ ของแผนงานเกือบ 300 ชุด และโครงการย่อย 1,200 ชุด และการสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นผ่าน fanpage เกือบ 300 คน รวมถึง การสังเคราะห์ผลจากโครงการย่อยที่ 1, 2 และ 3
ในส่วนของกิจกรรม ซึ่งเป็น

1) จัดกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม Walk with the Cloud 2 ครั้ง เวทีสาธารณะจัดร่วมกับ ThaiPBS ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง
2) การร่วมกิจกรรมของโครงการย่อยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Community Walk รายการวิทยุ การสนทนากลุ่ม การประกวดความคิด งาน 124 ปี รถไฟไทย

ระยะที่ 2 คือ เวทีรับฟังความคิดเห็น และนิทรรศการออนไลน์

1) การสนทนากลุ่มย่อยจากผู้เชี่ยวชาญในมิติต่าง ๆ
2) สื่อสารโครงการผ่านสื่อสาธารณะ ได้แก่ รายการ สมุทรโคจร / website (ที่เราทำเส้นทางท่องเที่ยว) และ facebook ต่อเนื่องจากการทำงานในระยะที่ 1

คณะวิจัย

ที่ปรึกษาโครงการ: ศ.กิตติคุณ ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง และ ศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

แผนงานวิจัย : การศึกษาเพื่อวางกรอบในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก ผู้อำนวยการแผนงาน
ผศ.ธิป ศรีสกุลไชยรัก I ดร.ภัทร ยืนยง I ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์ I ดร.สริตา เจือศรีกุล

โครงการย่อย 1 : การศึกษาเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

ผศ.กฤษณะพล วัฒนวันยู หัวหน้าโครงการย่อย 1
ดร.ชำนาญ ติรภาส

โครงการย่อย 2 : การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการด้านการลงทุนและความเป็นไปได้ทางการเงินเพื่อรองรับการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

ดร.ถิรภาพ ฟักทอง หัวหน้าโครงการย่อย 2
ดร.ปิยะวงศ์ ปัญจะเทวคุปต์ I ดร.พิจิตรา ประภัสสรมนู

โครงการย่อย 3 : การศึกษาระบบโลจิสติกส์เชื่อมโยงพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ หัวหน้าโครงการย่อย 3
รศ.ดร.ภูพงษ์ พงษ์เจริญ I รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา I ดร.ศิริกาญจน์ จันทร์สมบัติ I ดร.ใกล้รุ่ง พรอนันต์ I ดร.เจษฎา โพธิ์จันทร์