Skip to content

ถนนเจริญกรุง ( Charoen Krung Road )

ถถนนเจริญกรุง

เส้นทางสัญจรที่สำคัญเส้นหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ทอดยาวผ่านเขตพระนคร สัมพันธวงศ์ ป้อมปราบศัตรูพ่าย บางรัก สาทร บางคอแหลม ซึ่งในอดีตเป็นย่านศูนย์กลางพาณิชยกรรมริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีรถราง และเป็นต้นกำเนิดของธุรกิจต่างๆ ในประเทศ รวมถึงกิจการการค้าระหว่างประเทศจำนวนมาก นับได้ว่าถนนสายนี้เป็นถนนสายสำคัญที่เติบโตไปพร้อมกับกรุงเทพฯในยุคที่ก้าวสู่ความทันสมัยแบบตะวันตกทั้งในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมตั้งแต่เปิดใช้ครั้งแรกเมื่อ155ปีที่แล้ว

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเส้นใหม่ขึ้นในพระนคร ขนาดกว้าง 4 วา เชื่อมพระนครจากถนนสนามไชยไปจนถึงย่านท่าเรือชานเมืองที่ถนนตก รวมระยะทางทั้งสิ้น 8,575 เมตรถนนเส้นนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการใช้รถม้าของชาวต่างประเทศตามคำขอของกงศุลหลายชาติ ใช้เวลา 2 ปี จึงสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2407 เป็นถนนรุ่นแรกๆ ของกรุงเทพฯ ที่ใช้เทคนิคและแนวคิดการก่อสร้างแบบฝรั่ง ในเวลานั้น ถือเป็นแบบอย่างในการสร้างถนนเส้นอื่นๆ ตามมา เมื่อถนนสร้างเสร็จใหม่ๆ คนทั่วไปจะเรียกว่า “ถนนใหม่” ชาวตะวันตกเรียกว่า “นิวโรด” (New Road) ต่อมา ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนเส้นนี้ว่า “ถนนเจริญกรุง” ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนครในเวลาไล่เลี่ยกัน

ที่มา : www.walk.in.th

เมื่อดูตามเส้นทางของถนนจะพบว่า ถนนเจริญกรุง ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาของย่านริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นอย่างมาก เพราะเป็นถนนที่เชื่อมย่านสำคัญ 3 ย่าน ได้แก่ เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ที่เป็นศูนย์กลางการปกครองและวังต่างๆ บริเวณถนนมหาไชยจนถึงคลองรอบกรุง ต่อมาคือ ย่านชุมชนคนจีนที่เป็นย่านค้าขาย ท่าเรือ ซึ่งเป็นศูนย์กระจายสินค้าของเมืองบริเวณสำเพ็งตั้งแต่คลองรอบกรุง มาจนถึงคลองผดุงกรุงเกษม และสุดท้ายคือ ย่านชานพระนคร ตั้งแต่ย่านบางรักที่เป็นย่านของชาวตะวันตก ซึ่งอยู่ถัดจากคลองผดุงกรุงเกษม ยาวไปจนถึงถนนตก แม้ว่าถนนเจริญกรุงจะตัดผ่านย่านของคนหลากหลายเชื้อชาติ แต่ในภาพรวมนั้น ถนนเจริญกรุงเป็นเสมือนศูนย์รวมวัฒนธรรมตะวันตก ดังปรากฏให้เห็นจากลักษณะอาคารสถาปัตยกรรม และกิจการห้างร้านที่ได้รับอิทธิพลแบบตะวันตกมากมาย ด้วยเหตุนี้ ย่านถนนเจริญกรุงจึงเป็นย่านศูนย์กลางพาณิชยกรรม (CBD: Central Business District) ในยุคแรกๆ ของกรุงเทพมหานครในเวลานั้น ถนนเจริญกรุง มีความสำคัญต่อเมืองมากขึ้นหลังจากช่วงทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ซึ่งเปิดการค้าเสรีโดยอนุญาตให้สหราชอาณาจักรเข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยได้ และต่อมาจึงเป็นชาวตะวันตกชาติอื่นๆ ในเวลาไล่เลี่ยกัน ประเทศไทยจึงเริ่มหันมาใช้ถนนในการสัญจรแทนที่การใช้แม่น้ำ ทำให้ย่านต่างๆ ที่เรียงรายอยู่ตามถนนเจริญกรุงนั้น ค่อยๆ พัฒนาเป็นย่านการค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เฟื่องฟูมากของเมือง เพราะความเจริญใหม่ๆ ต่างทยอยขยับขึ้นมาเปิดกิจการและสำนักงานขนาบถนนเจริญกรุงเป็นจำนวนมาก หลังจากที่เคยกระจุกตัวกันอยู่แค่เพียงริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่5 มีการตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกกว่า 110สาย และเปิดกิจการเดินรถรางเป็นประเทศแรกในเอเซียทั้งแบบม้าลากในปี พ.ศ. 2430 ต่อมาเปลี่ยนเป็นแบบไฟฟ้าเมื่อปี พ.ศ.2437 จนถึง พ.ศ. 2511 จึงได้หยุดการเดินรถไป ดังนั้น จะเห็นได้ว่าถนนเจริญกรุงนั้นมีบทบาทร่วมไปกับการเจริญเติบโตของกรุงเทพมหานครเรื่อยมาตั้งแต่เริ่มเปิดใช้งาน

ที่มา : walk

Gallery

ที่มา : kori

Video

เที่ยวกลางคืนที่เจริญกรุง ถนนสายแรกที่คุณปู่คุณย่าท่องราตรี

วิดีโอจาก The Cloud

พินิจนคร (Season 1) ตอน เจริญกรุง

วิดีโอจาก pinijnakorn

ถนน เจริญกรุง , ถนน เจริญกรุง Google Doodle

วิดีโอจาก Who and What You Need to Know

"เจริญกรุง" ถนนสมัยใหม่สายแรกของไทย

วิดีโอจาก THE BACKGROUND – ความเป็นมา-

"ถนนเจริญกรุง" ถนนสายแรกของเมืองไทย | เรื่องดีของไทย | 12 ก.ค. 63 | ช่วง 1

วิดีโอจาก NationTV22

Google Street View