มัสยิดฮารูน ( Haroon Mosque )
มมัสยิดฮารูน คือ หนึ่งในมัสยิดที่มีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ พร้อมด้วยประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการย้ายถิ่นภายในภูมิภาคในช่วงปี 1800
ขณะที่ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทย เราอาจจะลืมไปว่ามีชุมชนศาสนาอื่น ๆ ที่มีความเข้มแข็งและเฟื่องฟูอยู่ตามซอกมุมต่าง ๆ ทั่วเมืองหลวงแห่งนี้ ในย่านประวัติศาสตร์บางรัก มีชุมชนมุสลิมซึ่งอยู่มาเป็นเวลานานหลายร้อยปี มัสยิดฮารูนเป็นศูนย์กลางของย่านเล็ก ๆ แห่งนี้ซึ่งอยู่ตรงข้ามสถานทูตฝรั่งเศส หลังศุลกสถาน การมีศาสนสถานและชุมชนอาศัยอยู่โดยรอบเพิ่มความหลากหลายให้กับย่าน Creative District ที่กำลังมีแววรุ่งแห่งนี้
ในปี ค.ศ. 1837 พ่อค้าเชื้อสายอินโดนีเซีย-อาหรับ มูซา บาฟาเดน เข้ามาตั้งรกรากในเขตบางรัก ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อว่า ต้นสำโรง เขามีลูกชาย 3 คน คือ ฮารูน อุษมาน และฮิสฮาค ลูกชาย 2 คนของเขาสืบทอดความหลงใหลในการเดินทางจากพ่อ อุษมานมุ่งหน้าไปมาเลเซีย ส่วนอิสฮาคออกเดินทางไปกัมพูชา ในขณะที่ฮารูนตั้งรกรากอยู่ในกรุงเทพฯ เขาแต่งงานและมีลูก แต่เดิมนั้น มัสยิดของหมู่บ้านต้นสำโรงอยู่ริมแม่น้ำ แต่ในปี ค.ศ. 1899 รัฐบาลไทยเห็นว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของมัสยิดเป็นทำเลที่ดีสำหรับศุลกสถาน จึงมีการเวนคืนที่ดินและย้ายมัสยิดเข้าไปยังที่ตั้งปัจจุบัน
แรกเริ่มนั้นมัสยิดสร้างด้วยไม้ ออกแบบอย่างสวยงามผสมผสานสไตล์อยุธยา-ชวาเข้าด้วยกัน ในปี ค.ศ. 1934 ลูกชายของฮารูน คือ มูฮัมหมัด ยูซูฟ ตัดสินใจจะปรับปรุงมัสยิดให้เป็นแบบก่ออิฐถือปูนเช่นในปัจจุบัน หมู่บ้านต้นสำโรงอาจจะไม่มีอยู่แล้ว แต่มัสยิดยังคงอยู่ ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านนี้และผู้ที่มีศรัทธาในศาสนาช่วยให้เราสามารถเข้าใจศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมอิสลามผ่านการใช้ชีวิตและการปฏิบัติตามหลักศาสนาของพวกเขา ทุกวันศุกร์ หรือที่เรียกว่า Jumu’ah (วันศุกร์ที่มาทำศาสนากิจพร้อมกันของชาวมุสลิม) ย่านนี้จะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งเมื่อคนในชุมชนมาร่วมสวดมนตร์พร้อมกัน คุณอาจจะกลายเป็นผู้ร่วมเหตุการณ์ที่คอยสังเกตกิจกรรมที่เกิดขึ้นด้วยความเคารพหากได้รับอนุญาต หรือคุณอาจจะเข้าไปลิ้มลองอาหารไทยมุสลิมที่ขายโดยคนในพื้นที่ก็ได้
ที่มา : bangkokriver
ประวัติ
มัสยิดฮารูณ (Haroon Mosque) สร้างขึ้นโดย โต๊ะฮารูณ บาฟาเดน ชาวเมืองปนเจอะนะ ประทศอินโดนีเซีย ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย ณ บริเวณ หมู่บ้านต้นสำโรง ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในอำเภอบางรักตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 3 ประมาณปีพ.ศ. 2371 ได้สร้างมัสยิดขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวมุสลิมในหมู่บ้าน เป็นเรือนไม้สักยกพื้นชั้นเดียว ท่านเป็นอิหม้ามคนแรกของมัสยิด เมื่อท่านถึงแก่กรรม หะยีมูฮำหมัด ยูซุป (ต่วนโส) ผู้เป็นบุตรชายของท่านได้ทำหน้าที่อิหม่ามแทน ในเวลาต่อมา มัสยิดเรือนไม้ชำรุดทรุดโทรมลง จึงได้รื้อมัสยิดหลังเดิมออก และก่อสร้างใหม่เป็นแบบก่ออิฐถือปูนดังที่เห็นในปัจจุบัน ส่วนที่เป็นไม้ของเดิมก็นำมาประกอบ เช่น ใช้ทำเป็นไม้พื้นและเป็นเสากลม โดยใช้เงินส่วนตัวของท่านเอง อักษรภาษาอาหรับต่างๆ ซึ่งปรากฏอยู่ที่ฝาผนังด้านบนภายในมัสยิด เป็นฝีมือแกะสลักและฉลุของ หะยีสะอิ๊ด ซึ่งเป็นชาวเมืองปนเจอะนะ ประเทศอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับโต๊ะฮารูณ บาฟาเดน ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2490 ได้มีการประกาศใช้ พรบ.มัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 ให้บรรดามัสยิดต่างๆ จดทะเบียนตามกฎหมาย จึงน้ำมัสยิดไปจดทะเบียนในนาม มัสยิดม่วงแค และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น มัสยิดฮารูณ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชู โต๊ะฮารูณ บาฟาเดน ผู้ก่อตั้งมัสยิดแห่งนี้
ที่มา : สำนักงานเขตบางรัก
Gallery
ที่มา : sarakadee
ที่มา : Trawell Thailand