Skip to content

คลองผดุงกรุงเกษม ( Khlong Phadung Krung Kasem )

คคลองผดุงกรุงเกษม

คลองเชื่อมเมืองคุ้นหูที่ผู้สัญจรไปมาในเขตพระนครต่างก็รู้จัก สัญลักษณ์ของเส้นทางเดินเรือบนเกาะรัตนโกสินทร์ที่ไม่ได้มีดีแค่ความเก่าแก่ เพราะอีกหลากแง่มุมน่าสนใจของเส้นทางการเดินเรือสายประวัติศาสตร์สายนี้ มีหลายเรื่องราวที่เชื่อมบทบาทในอดีต สู่บริบทปัจจุบัน

ที่มา : manadevelopment

ที่มา : www.manadevelopment.co.th

       ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชากรไทยได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าเมื่อแรกสร้างพระนครใหม่ ๆ หลายเท่า จากเอกสารที่เขียนโดย เซอร์ จอห์น เบาริง (Sir John Bowring) ในหนังสือราชอาณาจักรและพลเมืองสยามว่า มีประชากรประมาณ 6 ล้านคน (รอง ศยามานนท์ 2525 : 305) เป็นผลให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นของเส้นทางคมนาคม ไม่ว่าทางน้ำหรือทางบก และภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีแบบเบาริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา สถานกงสุลต่าง ๆ ส่วนมากจะตั้งอยู่ใกล้หรือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีการติดต่อหรือเดินทางสัญจร ไปมาระหว่างคนต่างชาติกับคนไทย ประกอบกับพระองค์ทรงเห็นความสำคัญของ การคมนาคม จึงได้มีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองขึ้น ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร (เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ 2504 : 70 อ้างถึงใน รอง ศยามานนท์ 2525 : 308) ความว่า
“… ทุกวันนี้บ้านเมืองเจริญขึ้น ผู้คนก็มากกว่าเมื่อแรกสร จึงโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ซึ่งว่าที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง เจ้าหมื่นไวยวรนารถเป็นกงสี จ้างจีนขุดคลองคูพระนครออกไปอีกชั้นหนึ่ง ปากคลองข้างทิศใต้ออกไปริมวัดแก้วฟ้า ปากคลองข้างทิศเหนือออกไปริมวัดเทวราชกุญชร เป็นแนวขนานกับคลองรอบกรุง ซึ่งขุดไว้ครั้งรัชกาลที่ 1 คลอง กว้าง 10 วา ลึก 6 ศอก ยาว 137 เส้น 10 วา สิ้นค่าใช้จ่าย 391 ชั่ง 13 ตำลึง 1 บาท 1 เฟื้อง…”
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามคลองที่ขุดขึ้นว่า คลองผดุงกรุงเกษม นับเป็นคลองที่สำคัญ เป็นคลองที่ชักน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาหล่อเลี้ยงพื้นที่สองฟากคลอง ทำให้เหมาะแก่การทำสวนยิ่งขึ้น และอาณาเขตของกรุงรัตนโกสินทร์ขยายพื้นที่ออกไป มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวหรือประมาณ 5,552 ไร่ (กรมศิลปากร 2525 : 57) บริเวณระหว่างคลองรอบกรุงกับคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเดิมเป็นที่อยู่นอกเมืองของประชาชน และเป็นย่านการค้าและที่อยู่อาศัยของชาวจีน กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของพระนคร อย่างไรก็ดีหลังจากการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเสร็จแล้ว ก็ยังไม่เพียงพอต่อการคมนาคมทางเรือ

ที่มา : thaigoodview

Gallery

ที่มา : manadevelopment

Video

ภูมิทัศน์รอบคลองผดุงกรุงเกษม ปลูกดอกไม้ เข้ากับอาคารการรถไฟสุดคลาสสิค

วิดีโอจาก vnp story

CHN_คลองผดุงกรุงเกษม

วิดีโอจาก pongsakornlovic

เรือโดยสารไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย | First Electric Passenger Boat in Thailand

วิดีโอจาก MariArt Thailand

Sounds Of คลองผดุงกรุงเกษม, กรุงเทพฯ (ASMR)

วิดีโอจาก a day magazine

Google Street View