ตึกแถวยุคแรก ( เส้นทางท่องเที่ยวภายในตลาดน้อย )
คครั้งหนึ่งประมาณ 300 ปีก่อน
ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น “ตลาดน้อย” เคยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ คนในพื้นที่ถูกแยกมาจากย่านกุฎีจีน ที่อพยพมากับเรือสำเภา ตอนนั้นจำนวนผู้คนก็ยังไม่มากนัก แต่ความเฟื่องฟูของย่านสำเพ็ง และเยาวราชที่ต่อมาธุรกิจเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นศูนย์กลางการค้า ก็ทำให้ชาวจีนต่างถิ่น ที่มีเชื้อสายตั้งแต่ จีนไหหลำ จีนแต้จิ๋ว จีนแคะ จีนกวางตุ้ง และจีนฮกเกี้ยน เริ่มเข้ามาอาศัยพื้นที่ใกล้เคียงอย่างตลาดน้อย เพื่อประกอบอาชีพค้าขาย แผ่ขยายเป็นกิจการครอบครัว สืบทอดต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ที่บ้างก็ยังอาศัยอยู่ บ้างก็ย้ายออกไปอยู่ที่อื่น แต่พื้นที่แห่งนี้ก็ยังคึกคักอยู่ตลอด แม้สภาพเศรษฐกิจการค้าขายจะซบเซาลงไปบ้าง แต่วัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ก็เป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ที่นักท่องเที่ยวมักจะมาเยี่ยมชม หรือแม้แต่ลูกหลานที่ออกไปอยู่ที่อื่น ก็ยังคงหวนคิดถึงและแวะเวียน กลับมาช่วยดูแลอากงอาม่าที่ยังอยู่ที่นี่เสมอ บางคนที่เริ่มแก่ตัว ก็มีไม่น้อยเลย ที่กลับมาสืบทอดกิจการที่บรรพบุรุษหลงเหลือไว้ให้
ที่มา : wongnai
ศศาลเจ้าโจวซือกง
ตั้งอยู่ในชุมชนตลาดน้อย เป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้ามากมาย ที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถือทั้ง พระไทจื่อเอี๋ย เจ้าพ่อกวนอู เจ้าพ่อเสือ เจ้าแม่ทับทิม หรือ 36 เทพเจ้า แต่เพราะสร้างมานานก็ทำให้ศาลเจ้าแห่งนี้ เกิดความเสื่อมสภาพตามเวลา ศาลเจ้าพ่อโจวซือกงเลยมีการซ่อมแซมหลายครั้งมาก ๆ ซึ่งการซ่อมแซมก็ถูกดูแลโดยคนฮกเกี้ยนในชุมชน และสมาคมฮกเกี้ยนแห่งประเทศไทย จึงทำให้ศาลโจวซือกงเป็นที่เคารพของคนฮกเกี้ยน เพราะเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษพยายามบำรุงรักษาไว้ และเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่จะต้องนึกถึงเมื่อ เอ่ยถึงคนจีนฮกเกี้ยนในตลาดน้อย ด้านในศาล มีรูปปั้นเทพเจ้าโจวซือกงผิวสีน้ำตาลทองตั้งเด่นหรา อยู่กลางศาลเจ้าโจวซือกงที่โครงสร้างภายใน ถูกตกแต่งด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์ชิง สร้างด้วยอิฐ ก้อนหินและไม้แข็ง ปกคลุมด้วยกระเบื้อง ประดับภาพวาดวิจิตรศิลป์ และรูปสลักทั่วทั้งภายใน
ที่มา : wongnai
ท “เทศกาลกินเจ” อัตลักษณ์ที่เชื่อมต่อคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่
เปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจ ของชาวจีนเชื้อสายฮกเกี้ยน ที่จะมากราบไหว้บูชากันทุกปี พิธีถูกจัดขึ้นอย่างโอ่อ่าภายในชุมชนตลาดน้อย มีเทียนหล่อนับร้อยเล่มที่หล่อโดยความร่วมมือของคนในชุมชน ผู้คนมากมายจากภายนอกที่ส่งเสริมให้คนในพื้นที่ ได้ตื่นเช้าขึ้นมาทำอาหารเจขายนักท่องเที่ยวกัน สำหรับคนภายนอกที่เข้ามา ศาลเจ้าโจวซือกงขึ้นชื่อเรื่องขอพรแล้วสมหวัง ซึ่งคนในตลาดน้อยเองก็ชอบมาขอพร เรื่องสุขภาพ เรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมอาม่า อากงในตลาดน้อยยังดูแข็งแรงกันอยู่เลย
ที่มา : wongnai
ออาชีพช่างตีเหล็ก ตำนานตลาดน้อย
เป็นกิจการที่มีเยอะมากในชุมชนตลาดน้อย ที่นี่มีโรงเหล็กอยู่กลางชุมชน แม้เด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตมาจากที่นี่จะออกไปทำงานออฟฟิศ กินเงินเดือนสบาย ๆ แต่การตีเหล็กก็เป็นกิจการที่คุ้มทุน รายได้ดีในมุมมองของผู้ใหญ่ในชุมชนตลอดมา “น้านก” คนตีเหล็กในตลาดน้อยมองว่า งานหนักไปอาจไม่ใช่ทางของเด็กรุ่นเด็กรุ่นใหม่ เขาเลยไม่เอา แต่ไม่ใช่เรื่องที่ผิดเลย กาลเวลาผ่านไป คนรุ่นใหม่มีการศึกษา มีตัวเลือกมากมาย การออกไปทำมาหากินข้างนอก น่าจะเติบโตได้ดีกว่า แต่หากกลับมาช่วยดูแลกิจการที่บ้านบ้างก็เป็นเรื่องน่ายินดี
ที่มา : wongnai
รร้านเฮงเสง
ไม่ใช่แค่กิจการร้านขายเหล็ก เข็นของขาย หรือร้านกาแฟ ที่ยังหลงเหลือและตกทอดมาสู่ลูกหลานในยุคปัจจุบัน “บ้านเฮงเซง” ร้านหมอนแฮนด์เมดที่อยู่มา 100 ปี หนึ่งเดียวและเจ้าสุดท้ายของตลาดน้อย ที่ลูกหลานของนายอั๊วะ เอี้ยวฮุย ช่วยกันสานต่อ ทักษะการเย็บผ้า เย็บเบาะรองนั่ง และหมอน ตามความนิยมในสมัยนั้น แต่ก็ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป “โซฟานุ่ม ๆ” ก็เข้ามาแทนที่หมอนและเบาะรองนั่ง ที่ลูกหลานของนายอั๊วะซึ่งปัจจุบันอายุ 85 ปีกำลังสานต่อ ถึงอย่างนั้นเฮงเสงก็ไม่ได้ถูกกลืนกินจากกระแสวัตถุนิยมจนสูญหายไป แต่กิจการเฮงเสงถูกถักทอขึ้นใหม่อีกครั้ง ในฐานะหมอนไหว้เจ้า ที่นำไปใช้งานเทศกาล และพิธีกรรมสำคัญของจีนแทน
ที่มา : wongnai
Gallery
ที่มา : wongnai
ที่มา : chillpainai