ศุลกสถาน (โรงภาษีร้อยชักสาม) ( Old Customs House )
ศศุลกสถานไม่เคยทำให้ผู้มาเยี่ยมชมผิดหวังเมื่อได้เห็นด้านหน้าของตัวอาคารโอ่อ่า และธรรมชาติที่ซ่อนอยู่
ยุคแห่งการเดินเรือซึ่งการค้าระหว่างประเทศและการทำสงครามทางทะเลนั้นขึ้นอยู่กับเรือใบ ทำให้ทางน้ำสำหรับการเดินเรือกลายเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเมือง ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 สยามเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดไปเป็นการค้าเสรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสั่งให้สร้างโรงภาษีขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตบางรัก เพื่อเรียกเก็บภาษีจากพ่อค้าวาณิชที่เดินทางเข้าออกประเทศ จากหน้าที่นี้เองทำให้ศุลกสถานกลายเป็นประตูสู่กรุงเทพฯ และเพราะเป็นสถานที่ซึ่งมีความสำคัญ จึงมีการออกแบบมาเพื่อสร้างความตื่นตาให้กับผู้พบเห็น
อาคารซึ่งในขณะนี้ถูกเรียกว่า ศุลกสถาน ตั้งอยู่ในย่าน Creative District ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาลี โยคาอิม กราซี ในช่วงปลายศตวรรษ 1880 ซึ่งย่างเข้าสู่จุดเปลี่ยนของศตวรรษที่อิทธิพลของตะวันตกพบเห็นได้บ่อยในอาคารสาธารณะ ด้านหน้าอันใหญ่โตของศุลกสถานและประตูหน้านั้นหันเข้าหาแม่น้ำเจ้าพระยา สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดิโอนั้นเห็นได้ชัดเจนจากหน้าจั่วยอดสามเหลี่ยมที่มีนาฬิกาติดอยู่ บัวหน้าต่างรูปโค้ง และรูปแบบสมมาตร น่าเสียดายที่การใช้งานศุลกสถานนั้นสั้นเพียงไม่กี่สิบปีก่อนจะปิดตัวลง ในปี พ.ศ. 2492 ด่านศุลกากรย้ายไปอยู่ที่คลองเตย และตั้งแต่นั้นตัวอาคารศุลกสถานก็ผุพังลง
ทุกวันนี้คุณสามารถไปเยี่มชมศุลกสถานได้เพื่อชื่นชมความรุ่งเรืองในอดีตได้ แม้ว่าสีเหลืองของตัวอาคารจะหลุดร่อน พื้นและบานเกล็ดหน้าต่างไม้จะผุพัง และส่วนของหลังคาจะยุบลงมา แต่ผู้มาเยี่ยมชมจะยังสามารถเห็นความงามของตัวอาคารได้อยู่ และความงามของอาคารที่ยังคงอยู่นี้เองที่ทำให้ที่นี่กลายเป็นสถานที่ยอดฮิตของการถ่ายภาพนิ่งและภาพยนตร์ หนึ่งในภาพยนตร์มีชื่อเสียงโดดเด่นที่ถ่ายทำที่นี่ก็คือ In the Mood for Love ของหว่องกาไว
ที่มา : bangkokriver
Gallery
ที่มา : perceptiablog
ที่มา : sarakadeelite