ตัวอย่าง Street Art ในชุมชน ( ศิลปะเรืองยิ้ม-ชุมชนวัดดวงแข, ชุมชนตรอกสลักหิน, ชุมชนแฟลตรถไฟ, ชุมชนสลักเมือง )
ตตลาดนัดชุมชนวัดดวงแข
พวกเรามาถึงที่นี่ในเวลาเช้าตรู่ของวันอาทิตย์ สิ่งแรกที่เห็นคือผู้คนจำนวนมากกำลังจับจ่ายใช้สอยกันอย่างคับคั่งในตลาดวัดดวงแข ตลาดสดประจำชุมชน ที่เปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางของชุมชน มีทั้งอาหารสด อาหารแห้ง รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นต่างๆ ทำให้ผู้คนที่นี่ไม่จำเป็นต้องออกไปซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เก็ตไกลๆ ให้เสียเวลา
พวกเราเดินลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอยต่างๆ และด้วยความที่เป็นช่วงเช้า อากาศจึงไม่ร้อนมากนัก ทำให้พวกเราเดินสำรวจรอบตลาดได้อย่างสบายๆ โดยไม่เหน็ดเหนื่อย พวกเราพบว่าร้านค้าต่างๆ มีอายุต่างกันไป ตั้งแต่ร้านที่เพิ่งเปิดมาได้ 1-2 ปี จนไปถึงร้านที่เปิดมานานกว่า 60 ปีแล้ว โดยร้านเก่าแก่ที่สุดตามคำบอกเล่าของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าในตลาดก็คือ ร้านขายดอกไม้ ที่เปิดอยู่บริเวณปากทางเข้าตลาดแห่งนี้ พวกเราไม่รอช้า เข้าไปขอพูดคุยกับเจ้าของร้านในทันที
ที่มา : nairobroo
Gallery
ที่มา : nairobroo
Video
ขี่เสือเที่ยว 29/3/58 : ขี่เสือตะลุย "ถนนรองเมือง"
Google Street View
รรองเมือง…เรืองยิ้ม ตอน ART บ้าน บ้าน บริเวณถนนรองเมือง (ข้างกำแพงสถานีรถไฟหัวลำโพง)
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ร่วมกับคณะกรรมการชุมชน อาสาสมัครชุมชน แกนนำเด็กเยาวชน ผศ.ดร.อภิชาติ พลประเสริฐ เเละ นักศึกษาสาขาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จิตอาสา และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ได้ร่วมกันดำเนินงาน โครงการนักสื่อสารสร้างสรรค์ รองเมือง…เรืองยิ้มปี 2 โดยนำแนวคิดพื้นที่สร้างสรรค์และ 3 ดี นำศิลปะสร้างสรรค์ สร้างการมีส่วนร่วม เปลี่ยนพื้นที่เสี่ยงที่มืดมนให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ สร้างคุณค่าให้พื้นที่และเชื่อมเส้นทางงานศิลป์ใน 4 ชุมชน โดยดึงนักศึกษา อาสาสมัคร กลุ่มศิลปิน ที่มีความชำนาญ เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของชุมชน ย่านรองเมือง ผลิตสื่อ โปสเตอร์ หนังสั้น สารคดี เสนอเรื่องราว จุดดีจุดเด่นของชุมชน สร้างและเพิ่มจำนวนแกนนำอาสาสมัครเด็กเยาวชน ชุมชนที่สามารถสื่อสารเรื่องราว ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตการกินอยู่ ของตนเองให้เกิดเป็นพื้นที่เรียนรู้ที่มีส่วนร่วม มีชีวิตชีวาของผู้คนย่านรองเมืองและขยายพื้นที่เชื่อมแนวคิดการทำงาน สร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน ที่จะนำไปสู่การเห็นคุณค่า เท่าทันสื่อ สถานการณ์และเกิดเป็นเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็ก เยาวชน ชุมชนที่สร้างความเข้มแข็งของชุมชน จนเกิดเป็นรูปธรรมเพื่อนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในงานรองเมือง…เรืองยิ้ม ครั้งที่ 5 ตอน ART บ้าน บ้าน ในวันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 บริเวณถนนรองเมือง (ติดสถานีรถไฟหัวลำโพง) ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป
ภายในงานท่านจะได้พบกับศิลปะแบบบ้านบ้าน อย่างเช่น ทะเลขวดน้ำ ขวดน้ำพลาสติก ที่อยู่ในวิถีชีวิตชุมชนคนขายน้ำบนรถไฟและเป็นขยะ เก็บขายได้ราคาไม่กี่บาท ครั้งนี้ “ขวดน้ำพลาสติก” จะมาเป็นงานศิลปะ ที่ชาวชุมชนได้นั่งทำศิลปะด้วยกัน ทำให้เห็นบรรยากาศของความสงบนิ่งทางใจ และความสุข ที่ผ่านมาผู้คนในชุมชนจะมีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิด กระทบกระทั่งกันง่าย บรรยากาศรีบเร่ง อาจจะเป็นเพราะต้องดิ้นรนทำมาหากิน การนั่งทำศิลปะกับขยะขวดน้ำพลาสติก ทำให้คนทำอารมณ์ดี บางคนฮัมเพลง บางคนนั่งนิ่งกับการทำศิลปะทำให้เกิดความสงบ ยิ้มอารมณ์ดี บรรยากาศต่างจากเดิม” กิจกรรมรองเมืองเรืองยิ้มสามสี่ปีที่ผ่านมา สร้างให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์สัมพันธ์ชุมชน มีส่วนร่วม บำบัดผู้คน เกิดความสุขทางใจ การมีกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ทำร่วมกัน หลายจุดในชุมชนเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ที่มีสีสัน สร้างคุณค่าให้พื้นที่เพิ่มขึ้น………พื้นที่สีดำเริ่มลดลง
นอกจากนี้ ท่านสามารถเข้าร่วมกิจกรรมตามซุ้มต่างๆ ได้อีกมากมาย อาทิเช่น รำวงสลับคู่ เต้นบาสสโลป เพ้นท์หน้า ทำพวงมโหตร ระบายสีปูนพาสเตอร์ เพ้นท์กระถางปลูกต้นอ่อนทานตะวัน เรือกาบมะพร้าว ตุ๊กตาถุงกระดาษ วาดรูปไม่เหมือน และทำเข็มกลัด และลงเช็คอินตามจุดต่างๆ เพื่อแลกรับของที่ระลึก
จุดเช็คอินสะท้อนเรื่องราววิถี 4 ชุมชนย่านรองเมือง ประกอบด้วย
1. ชุมชนวัดดวงแข
สะท้อนเรื่องราวการ ประกอบอาชีพขายน้ำในสถานีรถไฟและเก็บขวดของเก่าไปขาย เลยอยากจะใช้ขวดน้ำมาทำเป็นงานศิลปะเพื่อตกแต่งชุมชนและมีจุดเช็คอินในงานจากขวดน้ำพลาสติก
2. ชุมชนตรอกสลักหิน
ที่มีเรื่องราวความเป็นมาของคนในชุมชนที่เป็นคนจีนมีวัฒนธรรมความเชื่อและอาชีพการพับกระดาษไหว้เจ้าจึงเป็นที่มาของการใช้กระดาษเงินกระดาษทองหรือใช้โทนสีแดงในการทำจุดเช็คอิน
3. ชุมชนแฟลตรถไฟ
เป็นชุมชนสวัสดิการที่พนักงานการรถไฟอาศัยอยู่จึงจะทำเป็นป้ายสถานีรถไฟเป็นจุดเช็คอินที่สะท้อนความเป็นชุมชนและที่มา
4. ชุมชนจรัสเมือง
มีอาชีพรับซักผ้า ที่ชาวบ้านทำน้ำยาซักผ้าเอง มักจะบอกว่าชุมชนเราซักผ้าสะอาดและมีเวิ้งในชุมชนเป็นที่สำหรับตากผ้า คนที่เดินไปในชุมชนจะเห็นเป็นงานอาร์ต ที่เป็นความภูมิใจของชุมชน จึงนำเสนออาชีพของชุมชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาคณะครุศาสตร์เอกศิลปศึกษาในการออกแบบให้เป็นงานอาร์ต เพื่อเป็นจุดเช็คอินในครั้งนี้
ที่มา : thaihealth
Gallery
ที่มา : childmedia
Video
รองเมืองทราบแล้วเปลี่ยน : ที่นี่บ้านเรา (21 เม.ย. 64)
ชุชุมชนวัดดวงแข
ชุมชนวัดดวงแขนั้น ได้รับการรองรองเป็นชุมชนจากสำนักงานเขตปทุมวันเมื่อปี 2547 ตั้งอยู่บริเวณถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน มีพื้นที่ 3.5 ไร่ มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 52หลังคาเรือน 139 ครอบครัว 410 คน และมีประชากรตามบ้านเช่าอีก 500 คน ซึ่งพื้นที่ชุมชนนั้นมี 3 ส่วน คือเช่าอาศัยพื้นที่กรมธนารักษ์ ที่ดินชาวบ้านที่มีโฉนดและพื้นที่จากคลองนางหงส์ที่ตื้นเขิน คลองนางหงส์นั้นที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อแบ่งพระราชฐานเป็นชั้นนอกและชั้นใน โดยมีคลองนางหงส์เชื่อมต่อคลองผดุงกรุงเกษมให้น้ำไหลไปลงยังคลองแสนแสบแถบ บริเวณชุมชนกรุงเกษมชุมชนวัดบรมนิวาส และสะพานเจริญผล ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยจากหัวลำโพง – ปากน้ำ (สมุทรปราการ) คลองนางหงส์จึงถูกถมเป็นรางรถไฟ และเมื่อคลองนางหงส์ถูกถมแล้วจึงทำให้ส่วนที่ต่อจากรางรถไฟ ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน ชาวบ้านจึงมาปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี
ที่มา : samdee.org
Gallery
ที่มา : samdee.org
ที่มา : sarakadee
ชุชุมชนตรอกสลักหิน
เป็นชุมชนอายุกว่า 100 ปี ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งอดีตเคยถูกจัดเป็นพื้นที่สีแดง เนื่องจากปัญหายาเสพติด แต่ปัจจุบันมีหน่วยงานภายนอกและชุมชนร่วมกันปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และสร้างรายได้ให้กับชาวชุมชน
ที่มา : tmbfoundation
ชุมชนตรอกสลักหิน ย่านรองเมือง ใกล้กับสถานีรถไฟหัวลำโพง พร้อมเปิดประตูชุมชน เชิญชวนนักท่องเที่ยวสายอาร์ท สายฮิป ร่วมกิจกรรม “เที่ยวฟิน กินอิ่ม ที่ตรอกสลักหิน” ทุกวันเสาร์ เพื่อเรียนรู้และสัมผัสวิถีชุมชน พร้อมถ่ายภาพแนวสตรีทอาร์ทสุดเท่ และกิจกรรมประดิษฐ์กระดุมจีน เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมชองชุมชน ซึ่งจะมีมัคคุเทศก์เยาวชนจากไฟ-ฟ้า โครงการแห่งการให้ที่ยั่งยืน โดยทีเอ็มบี ร่วมให้ความรู้ และแนะนำชุมชน
กิจกรรม “เที่ยวฟิน กินอิ่ม ที่ตรอกสลักหิน” ในทุกวันเสาร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนชุมชนและสร้างความยั่งยืน โดยนำเสนอเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของชุมชน ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมและทำกิจกรรมภายในชุมชน สร้างอาชีพรายได้ และส่งเสริมให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ถือเป็นการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป ชุมชนตรอกสลักหิน เป็นชุมชนเล็กที่แฝงตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ย่านรองเมือง แม้ภายนอกถูกโอบล้อมด้วยตึกอาคารพาณิชย์ แต่ภายในเป็นชุมชนที่มีเสน่ห์ ด้วยการผสาน 2 วัฒนธรรมไทยและจีนไว้อย่างลงตัว พร้อมด้วยเรื่องเล่าวิถีชิวิตของผู้คน ผ่านสถาปัตยกรรมจีนโบราณที่แสดงอยู่ในมุมต่างๆ เป็นสตรีทอาร์ทบนกำแพง ผนัง ประตู และหน้าต่างบ้าน รวมไปถึงศิลปะการประดิษฐ์กระดุมจีน งานฝีมือที่หาชมได้ยาก และเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนตรอกสลักหินแห่งนี้ ซึ่งเป็นชุมชนที่อาสาสมัครทีเอ็มบีเคยได้ช่วยพัฒนาระบบการท่องเที่ยว ฝึกสอนมัคคุเทศก์น้อย และปรับปรุงทัศนียภาพของเส้นทางท่องเที่ยว เพื่อทำให้เกิดการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน
ที่มา : posttoday
Gallery
ที่มา : posttoday