วัดเล่งเน่ยยี่ (วัดมังกรกมลาวาส) ( Wat Lengnoeiyi )
ววัดมังกรกมลาวาส หรือที่เราชอบเรียกว่า ‘วัดเล่งเน่ยยี่’
ถ้าเรียกเป็นภาษาจีนกลางก็จะออกเสียงว่า ‘หลงเหลียนซื่อ’ สร้างขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลือกชัยภูมิสร้างวัดบนเนื้อที่ 4 ไร่ 18 ตารางวา โดยให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าซ้าย ร่วมกับพุทธศาสนิกชนชาวจีนดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2414 ใช้ระยะเวลาในการสร้างทั้งสิ้น 8 ปี เมื่อสร้างเสร็จจึงได้อาราธนา พระอาจารย์สกเห็ง มาเป็นเจ้าอาวาส และเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปแรกของประเทศไทย
วัดมังกรกมลาวาสใช้ผังแบบวัดจีน มีรูปแบบศิลปกรรมแบบจีนตอนใต้ ประกอบด้วยอาคารหลักคืออุโบสถตั้งอยู่ตรงกลาง ด้านหน้ามีวิหารจตุโลกบาล ด้านหลังเป็นวิหารบูรพาจารย์ ส่วนด้านซ้ายขวาก็มีวิหารอื่นๆ อีกหลายหลัง
ที่มา : readthecloud
วัดเล่งเน่ยยี่ หรือวัดมังกรกมลาวาส วัดจีนที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ทำให้หลายท่านเข้าใจผิดว่านี้ คือวัดจีนแห่งแรกในประเทศไทย แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ วัดจีนแห่งแรกในประเทศคือ “วัดย่งฮกยี่” หรือ “วัดบําเพ็ญจีนพรต”
วัดย่งฮกยี่ เดิมเป็นวิหารพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ (ย่งฮกอำ) มีป้ายชื่อลง พ.ศ. 2338 (รัชกาลเฉียนหลง ปีอิกเบ้า ค.ศ. 1795) สันนิษฐานว่าสร้างโดยชาวจีนในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
พระอาจารย์จีนสกเห็ง (พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร) เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปแรกในประเทศไทย และอดีตเจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส รูปที่ 1 เมื่อครั้งเป็นบรรพชิตจีนในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน จาริกมาจากเมืองจีน ประมาณ พ.ศ. 2414 พำนักอยู่ที่วิหารดังกล่าว
พระอาจารย์จีนสกเห็งปฏิสังขรณ์วิหารพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น “ย่งฮกยี่” มี ป้ายชื่อลง พ.ศ.2430 (รัชกาลกวงสู ปีที่ 13 ค.ศ.1887) แล้วขอพระราชทานนามวัดจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามวัดว่า “วัดบําเพ็ญจีนพรต” มีป้ายพระราชทานนามวัดประดิษฐานอยู่ด้านหน้าอุโบสถ
ที่มา : silpa-mag
Gallery
ที่มา : readthecloud
ที่มา : travel.kapook