โบสถ์กาลหว่าร์ (วัดแม่พระลูกประคำ) ( Holy Rosary Church )
ววัดแม่พระลูกประคำ
หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรอยุธยา วัดแม่พระลูกประคำ(กาลหว่าร์) เป็นสถานที่ให้ชาวโปรตุเกสนั้นได้รวมตัวกันและประกอบกิจกรรมทางศาสนา
โปรตุเกสเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ในทวีปยุโรปที่ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีเป็นอย่างมากกับประเทศไทย เพื่อให้ชาวโปรตุเกสได้รับการตั้งถิ่นฐานของตัวเองในอยุธยาที่มีมากถึงสามพันคน คริสตจักรโรมันสามคาทอลิกถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางศาสนาของชาวโปรตุเกสที่ได้อยู่ในบ้านหลังใหม่ไกลจากบ้านหลังเก่า ชาวโปรตุเกสกลุ่มนี้ได้อาศัยอยู่ในอยุธยาเป็นเวลานานกว่าสองศตวรรษ แต่ในปี ค.ศ. 1767 นิคมนั้นก็ถูกทำลายไปพร้อมกับการล่มสลายของอยุธยาและชาวโปรตุเกสก็ถูกบังคับให้หลบหนีไปที่กรุงเทพฯ พร้อมกับผู้รอดชีวิตคนอื่นๆ
เมื่อไปถึงชาวโปรตุเกสจะต้องตัดสินใจเลือกว่าจะทำตามผู้นำพระสงฆ์ฝรั่งเศส ที่ก่อตั้งโบสถ์ซานตาครูซ ในธนบุรี หรือจะปฏิเสธและหาทางรอดด้วยตัวเอง กลุ่มที่เลือกอย่างหลังก็ได้อพยพไปอยู่ในเขตสัมพันธวงศ์และสร้างคริสตจักรของตัวเองในปี ค.ศ. 1787 โบสถ์กาลหว่าร์ จึงถูกสร้างขึ้น ซึ่งเริ่มจากโครงสร้างไม้ จนเป็นแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน เนื่องด้วยการก่อสร้างที่มานานและเสร็จสิ้นในปี ค.ศ.1897
ปัจจุบันนี้ที่โบสถ์กาลหว่าร์ (หรือเรียกว่าคริสตจักร Kalawar) ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของความหลากหลายทางศาสนาที่จะเห็นได้ตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สไตล์ Gothic ของโบสถ์ทำให้เป็นที่มองเห็นได้ง่ายจากแม่น้ำ ยอดบนสุดของโบสถ์เต็มไปด้วยซุ้มหน้าต่างและประตู ส่วนบริเวณภายในผู้คนก็สามารถเข้าไปชมการตกแต่งภายในที่งดงามสไตล์ยุโรปและชื่มชมความงามของแสงที่ส่องมาจากหน้าต่างกระจกสีที่มีการบำรุงรักษามาเป็นอย่างดี
ที่มา : timeout
Gallery
ที่มา : timeout
ที่มา : bkknowconnect