กรมเจ้าท่า ( Marine Department )
กกรมเจ้าท่า
ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อสมัยพระนารายณ์เมื่อ พ.ศ. 2199 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การค้าขายกับชาวต่างชาติทางน้ำเป็นที่รุ่งเรื่องที่สุดของ ในสมัยรัตนโกสินทร์ (พศ. ๒๓๒๔ จนปัจจุบัน) ซึ่งในยุกต์นั้นใช้ระบบจังกอบ (Port Dues) ซึ่งทำให้การค้าขายโดยตรงกับพลเรือนราบรื่นขี้น โดยที่ไม่ต้องผ่านกรมธนารักษ์ เนื่องจากความต้องการของรัฐบาลอังกฤษ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงให้การมีการปรับเปลี่ยนข้อตกลงทางการค้าขาย ประเทศสยามในยุกต์นั้นถูกเรียกร้องให้เก็บภาษีขณะที่มีการจอดสำเภาเข้าฝั่งเพียงครั้งเดียว แทนการเก็บตามจำนวนเวลาที่สำเภาจอดไว้ที่ท่าเรือ เนื่องจากตัวอย่างของข้อตกลงทางการค้าขายระหว่างประเทศอังกฤษและสยามประเทศ ทำให้มีการเปลี่ยนของข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศในประเทศอื่น ๆ ด้วย
เนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้หน้าที่ของกรมเจ้าท่ามีเพิ่มขึ้น และด้วยความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความจำเป็น ที่จะปฏิรูปกรม ดังนั้นจึงมีสัญญาว่าจ้างระหว่างรัฐบาลสยามและอังกฤษ ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2399 กัปตัน จอห์น บุช นักเดินเรือชาวอังกฤษ ถูกแต่งตั้งให้เป็นนายท่าของท่าเรือกรุงเทพ กัปตัน จอห์น บุช มีชื่อไทยว่า พระยาวิสูตรสาครดิฐ และหลังจากนั้นมาทำให้ในวันที่ 5 สิงหาคม เป็นวันสถาปนาของกรมเจ้าท่า กรมเจ้าท่าได้ถูกก่อตั้งบนพื้นที่ ที่ถูกมอบให้โดยเจ้าสัวเส็ง ตลาดน้อยซึ่งอยู่ในทิศใต้ของเยาวราช และฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เคยเป็นส่วนรวมการค้าทางน้ำและยังเป็นบริเวณที่ผู้คนเข้ามาซ่อมเรือ กรมเจ้าท่าอยู่ไม่ห่างจากซอยเจริญกรุง 30 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะซอย กัปตันบุช เพราะว่าซอยนี้เคยเป็นที่อยู่ของกัปตันบุช
กรมท่า ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น กรมเจ้าท่า ในปี พ.ศ. 2545 ต่อมาในปีพ.ศ. 2563 ได้มีการปรับปรุงท่าเรือหมายเลข 4 ของกรมให้เหมาะสมกับสถานที่และประวัติศาสตร์ของกรม โดยรูปแบบของการปรุงในครั้ง?พเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมของอารยธรรมตะวันตก แบบ นีโอ-คลาสิก(พ.ศ. 2203 – พ.ศ. 2341) และ โบซาร์ (พ.ศ. 2373 – พ.ศ. 2433) ในชั้นบนของท่าเรือมีพระพุทธรูปที่หันไปทางแม่น้ำ และข้างๆท่าเรือมีสวนหย่อมขนาดเล็กเพื่อให้ผู้เยื่ยมชมสัมผัสกับท้องของมังกรแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา และด้านหน้าสวนหย่อมและข้างๆกับท่าเรือ จะมีรูปแบบของโป๊ะทรงโบราณซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของสถานที่แห่งนี้ในอดีต
ที่มา : bangkokriver
Gallery
ที่มา : md.go.th